เรื่องราวของ SEIKO คือการสานต่อวัตกรรม ความฝัน และจินตนาการสู่เรือนเวลาคุณภาพผู้ทำหน้าที่บ่งชี้และบอกชัดถึงห้วงเวลาอันเป็นทรัพยากรที่ไม่เคยสูญสลาย ให้เราสามารถสัมผัสและรับรู้ได้ผ่านศาสตร์และศิลปะแห่งการประดิษฐ์นาฬิกา
1.กลไกจักรกลของ SEIKO เป็นการผสมผสานระหว่างงานฝีมือและความเที่ยงตรง สู่การประดิษฐ์นาฬิกาจักรกลคุณภาพ ซึ่ง SEIKO เริ่มต้นการผลิตนาฬิกาจักรกลครั้งแรกในปี 1913 จึงปฎิเสธไม่ได้ว่า ชื่อนี้ยังเป็นผู้สร้างสรรผลงานเรือนเวลาตามแบบประเพณีดั้งเดิมที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน แต่กลับนำมาประ
ยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปี 1960 กับการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเปิดตัวเรือนเวลาจักรกลที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลก ด้วยมารตฐานแห่งความเที่ยงตรงและศักยภาพแห่งเครื่องบอกเวลาใหม่
ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ยืนยันการเป็นผู้นำด้านคุณภาพเหล่านี้คือ การเข้าร่วมประกวดศักยภาพนาฬิกาขององค์กร เนอชาแตล ออบเซอร์วาทอรี่ [Neuchatel Observatory] ในปี 1963 เรื่อยมาจนกระทั่งในปี 1967 SEIKO ได้รับอันดับ 2 และอันดับ 3 จากเรือนเวลา 2 รุ่น และนำพาให้ SEIKO ก้าวต่อไปด้วยการร่วมประกวดที่เจนีวา โดยในปี 1968 นาฬิกาทั้ง 7 รุ่น ของ SEIKO ได้เข้ารอบ 10 เรือนสุดท้าย และคว้าอันดับ 1 ได้ไปในที่สุด สำหรับผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับ SEIKO มากที่สุด ก็ต้องยกให้ นาฬกาจักรกล คอลเลกชั่น แกรนด์ ไซโก [Grand Seiko] และกลไกจักรกลอัตโนมัติโครโนกราฟ คาลิเบอร์ 6139 และตัวเกาะเกี่ยวในแนวตั้ง [Verticla Clutch]
2.กลไกควอตซ์ SEIKO นักประดิษฐ์และผู้สร้างนวัตกรรมกลไกควอตซ์นับตั้งแต่ปี 1969 เป็นต้นมา โดยนาฬิกาควอตซ์เรือนแรกของโลก ไซโก แอสตรอน [Seiko Astron] ถูกสร้างขึ้นในปี 1969 จำนวนเพียง 100 เรือนเท่านั้น ราคาของมันในขณะนั้นก็คือรถยนต์ดีๆ คันหนึ่งนะแหละครับ และหลังจากนั้น SEIKO ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงระบบโรเตอร์วอตซ์ทำจากคริสตัลใหม่ การบรรจุมอเตอร์สร้างพลังงาน และเทคโนโลยี ไอซี แบบ ซี-มอส [C-MOS IC] วงจรรวมของระบบดิจิตอล จนกระทั่งในปี 2004 SEIKO ได้รับรางวัล ไมล์สโตน อวอร์ด [Milestone award] จาก ไออีอีอี [IEEE] องค์กรอิสระไม่หวังรายได้เพื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
3.ไซโก คีเนติด [Seiko Kinetic] ณ วันนี้คงจะไม่มีใครรู้จักชื่อนี้ กับคุณสมบัติเดีนของการสร้างพลังงานให้กับกลไกจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในช่วงต้นยุค 70s เมื่อ SEIKO นำทักษะและความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กโทรนิคมาผนวกกับการประดิษฐ์นาฬิกาจักรกลอย่างจริงจังขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์การรักษาความเที่ยงตรงของนาฬิกาอิเล็กโทรนิคด้วยพลังงานที่ไม่รู้จบของกลไกจักรกล จนได้มาเป็นระบบที่เราคุ้นหูกันว่า Kinetic ในวันนี้ ด้วยหลักการ การแปลงพลังงานเคลื่อนไหวให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเพิ่มศักยภาพความเที่ยงตรง ประสิทธิภาพการทำงานที่ยาวนาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และการทำงานด้วยฟังก์ชั่นที่หลากหลายอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 1983-1988 SEIKO ก็ได้ให้กำเนิดเทคโนโลยีใหม่ 3อย่าง
***วงจรไอซี [IC]
***ศักย์ไฟฟ้า มัลติพลายเออร์ [Voltage Multiplier]
***โรเตอร์ใหม่อาศัยอำนาจแม่เหล็กดูด
ที่บรรจุอยู่ในเรือนเวลาของ SEIKO KINETIC ไม่น้อยไปกว่า 23 รุ่น
4.ไซโก สปริง ไดรฟ์ [Seiko Spring Drive] ปฎิวัติความเงียบในการประดิษฐ์นาฬิกาชั้นสูง หนึ่งในประดิษฐกรรมที่สะท้อนธรรมชาติจริงของเวลาได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการเดินทางของเข็มนาฬิกาที่ไร้แรงกระตุก แต่เรียบและเงียบอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับการลื่นไหลของเวลาตามธรรมชาติ ผลงานชิ้นแรกประดิษฐ์ขึ้นโดย โยชิกาซู อะกาเฮน [Yoshikazu Akahane] ในช่วงปี 1973 ที่เขาให้ฉายาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ว่า นาฬิกานิรันดร์กาล เพราะเป็นนาฬิกาที่ใช้เมนสปริงที่ปราศจากปัญหาเรื่องความทนทานและความเที่ยงตรง ต่างจากนาฬิกาจักรกลแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง
ในปี 1999 SEIKO ทำการท้าทายโลกแห่งการเวลาด้วยการเปิดตัวนาฬิกาจักรกลรุ่น Spring Drive โดยภายในถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ชิ้นใหม่ ที่สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งระบบจักรกล และระบบไฟฟ้า และพลังงานสนามแม่เหล็ก
นั่นคือศิลปะการประดิษฐ์นาฬิกาที่หล่อหลอมกันได้อย่างลงตัวภายใต้ชื่อของ SEIKO