Wednesday, December 2, 2009

moonwatch

The first moment  of a moonwatch



ตำนานของ moonwatch มีจุดเริ่มต้นเรื่องราวมาตั้งแต่ปี 1960 เมื่อเจ้าหน้าที่ของ NASA ได้รับมอบหมายให้คนหานาฬิกาที่ดีที่สุดสำหรับนักบินที่จะไปปฎิบัติการบนห้วงอวกาศ หลังจากที่ได้ทำการค้นหานาฬิกาจากหลากหลายยี่ห้อและนำนาฬิกาเป็น 10 ยี่ห้อมาทำการทดสอบ อย่างหนัก เพราะว่านำฬิกาที่จะนำไปใช้บนอวกาศได้นั้นย่อมมีความทนทานและระบบกลไกลที่เป็นเลิศ โดยเฉพาะเรื่องความกดอากาศ และการทนต่อแรงต้านที่สูงที่สุด และในบรรดานาฬิกาทั้งหลายที่ได้นำมาทำการทดสอบกัน ผลการทดสอบออกมาเป็นที่ยอมรับกันว่านาฬิกาที่มีความทนและความแปรผันน้อยที่สุดเมื่อนำไปใช้บนห้วงอวกาศ [5วินาทีต่อวัน] ก็คือ Omega Speedmaster นั้นเอง
และเมื่อประสบความสำเร็จกับโครงการอวกาศ Mercury ซึ่งเป็นภารกิจการบินที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ และก่อนหน้าที่จะทำการทดสอบนำเอานาฬิกามาใช้ในภารกิจการบินนี้ นักบิน วัลลี่ เชอร์รา ก็เคยสวมนาฬิกา Omega Speedmadter ของเขาเองอยู่ก่อนแล้วกับการบินกับยานอวกาศ ซิกม่า 7 ซึ่งโคจรรอบโลก 6 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1962 นั้นจึงพิสูจน์ได้ถึงความไว้วางใจเฉพาะบุคคลกับนาฬิการุ่นนี้  และหลังจากนั้นไม่นาน องค์การ NASA ได้ริเริ่มวางแผนการปฎิบัติการครั้งใหม่ภายใต้ชื่อ เจมินี่ [Gemini] ซึ่งใช้นักบินอวกาศ 2 คน และโครงการ Apollo ใช้นักบินอวกาศ 3 คนต่อไป โดยแผนการบินครั้งนี้กำหนดให้นักบินต้องออกไปทำการสำรวจนอกตัวยานอวกาศ ดังนั้นนาฬิกาข้อมือจึงเป็นอุปกรณ์หลักที่สำคัญมากชิ้นนึง และต้องมีคุณสมบัติ และสมรรถนะที่ทนต่อสภาวะอันรุนแรงในห้วงอวกาศได้อย่างดีเยี่ยม



ที่ต้องเป็นเช่นนั้นก็เพราะทุกครั้งที่นักบินอวกาศหยุดอยู่ในสภาวะสูญญากาศภายในห้วงอวกาศ และหมุนข้อมือ นาฬิกาที่สวมอยู่ก็จะต้องสัมผัสกับแสงจากดวงอาทิตย์ที่ไม่ผ่านการกรองของชั้นบรรยากาศใดๆ และอุณหภูมิโดยรอบก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 องศาเซลเซียส โดยทั้งประธานาธิบดีเคนเนดี้ [Kennedy] และองค์การ NASA ได้เคยกล่าวว่า ภารกิจบนดวงจันทร์ยากยิ่งกว่าที่เราคิดไว้มาก เพราะอุณหภูมิบนผิวดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ขึ้นๆ ลงๆระหว่าง -160และ 120 องศาเซลเซียส
เพราะฉนั้นการทดสอบนาฬิกาเพื่อภารกิจนี้จึงต้องเพิ่มความเข้มข้นมากกว่าเดิม ว่านาฬิกายี่ห้อใดจะเหมาะกับสภาวะที่รุนแรงขนาดนั้น และทาง NASA จึงได้ทำการทดสอบนาฬิกา Omega Speedmaster และนาฬิกาโครโนกราฟของยี่ห้ออื่นๆอีก 5 ยี่ห้อ เพื่อนำมาทำการทดสอบเพิ่มเติมอีกครั้ง และก็ด้วยความเที่ยงตรงและความทนต่อสภาวะแรงกดและอุณหภูมิต่างๆ ได้เป็นอย่างดีจึงทำให้ Omega Speedmaster ได้รับคัดเลือกอีกตามเคย





จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ Speedmaster การเป็นพระเอกในข่าวภารกิจการสำรวจอวกาศหลายครั้ง และทำให้ Omega ได้ตัดสินใจเพิ่มคำว่า "Professional" ไว้บนหน้าปัดนาฬิกาโครโนกราฟ ในปี 1965 พร้อมกับการเปิดตัวแคมเปญโฆษณาที่ตอกย้ำถึงบทบาทเด่นของนาฬิกาเรือนนี้ในการเดินทางท่องอวกาศ

Monday, November 23, 2009

ความเป็นมาของ SEIKO

ครับผมหลังจากที่พูดถึงแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Breitling กันไปแล้ว เราลองมาดูอะไรที่มันใกล้เราเข้ามาอีกนิดก็แล้วกัน SEIKO แบรนด์นี้ฟังดูแล้วน่าจะคุ้นหูคนไทยกันเป็นอย่าดี และเป็นแบรนด์ที่ใครๆ ก็น่าจะหาซื้อมาใส่ได้ SEIKO เป็นแบรนด์ดังของญี่ปุ่นครับก่อตั้งมาแล้วก็ตั้ง 127ปีครับ ถือว่าเป็นแบรนด์ที่มีมาแล้วยาวนานพอสมควรครับ ราคาค่าตัวของ SEIKO ที่เราเห็นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ หลายพันไปจนถึงแค่ 2-3หมื่นบาทเองครับ แต่ว่า SEIKO เขาก็มีอาวุธลับซ่อนเอาไว้เหมือนกันครับ เพราะว่ารุ่น Special Edition ของ SEIKO ก็ราคาหลายแสนเหมือนกันนะครับ และผมเคยเห็นอยู่เหมือนกันนะว่าบางเรือนราคาสูงถึง หลักล้านบาทก็มีครับ แต่ว่าจำรุ่นไม่ได้เดี๋ยวจะหามาลงให้อ่านกันในภายหลังนะครับ
เรื่องราวของ SEIKO คือการสานต่อวัตกรรม ความฝัน และจินตนาการสู่เรือนเวลาคุณภาพผู้ทำหน้าที่บ่งชี้และบอกชัดถึงห้วงเวลาอันเป็นทรัพยากรที่ไม่เคยสูญสลาย ให้เราสามารถสัมผัสและรับรู้ได้ผ่านศาสตร์และศิลปะแห่งการประดิษฐ์นาฬิกา
1.กลไกจักรกลของ SEIKO เป็นการผสมผสานระหว่างงานฝีมือและความเที่ยงตรง สู่การประดิษฐ์นาฬิกาจักรกลคุณภาพ ซึ่ง SEIKO เริ่มต้นการผลิตนาฬิกาจักรกลครั้งแรกในปี 1913 จึงปฎิเสธไม่ได้ว่า ชื่อนี้ยังเป็นผู้สร้างสรรผลงานเรือนเวลาตามแบบประเพณีดั้งเดิมที่ไม่เคยแปรเปลี่ยน แต่กลับนำมาประ
ยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปี 1960 กับการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการเปิดตัวเรือนเวลาจักรกลที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลก ด้วยมารตฐานแห่งความเที่ยงตรงและศักยภาพแห่งเครื่องบอกเวลาใหม่
     ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ยืนยันการเป็นผู้นำด้านคุณภาพเหล่านี้คือ การเข้าร่วมประกวดศักยภาพนาฬิกาขององค์กร เนอชาแตล ออบเซอร์วาทอรี่ [Neuchatel Observatory] ในปี 1963 เรื่อยมาจนกระทั่งในปี 1967 SEIKO ได้รับอันดับ 2 และอันดับ 3 จากเรือนเวลา 2 รุ่น และนำพาให้ SEIKO ก้าวต่อไปด้วยการร่วมประกวดที่เจนีวา โดยในปี 1968 นาฬิกาทั้ง 7 รุ่น ของ SEIKO ได้เข้ารอบ 10 เรือนสุดท้าย และคว้าอันดับ 1 ได้ไปในที่สุด สำหรับผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับ SEIKO มากที่สุด ก็ต้องยกให้ นาฬกาจักรกล คอลเลกชั่น แกรนด์ ไซโก [Grand Seiko] และกลไกจักรกลอัตโนมัติโครโนกราฟ คาลิเบอร์ 6139 และตัวเกาะเกี่ยวในแนวตั้ง [Verticla Clutch]

2.กลไกควอตซ์ SEIKO  นักประดิษฐ์และผู้สร้างนวัตกรรมกลไกควอตซ์นับตั้งแต่ปี 1969 เป็นต้นมา โดยนาฬิกาควอตซ์เรือนแรกของโลก ไซโก แอสตรอน [Seiko Astron] ถูกสร้างขึ้นในปี 1969 จำนวนเพียง 100 เรือนเท่านั้น ราคาของมันในขณะนั้นก็คือรถยนต์ดีๆ คันหนึ่งนะแหละครับ และหลังจากนั้น SEIKO ก็ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงระบบโรเตอร์วอตซ์ทำจากคริสตัลใหม่ การบรรจุมอเตอร์สร้างพลังงาน และเทคโนโลยี ไอซี แบบ ซี-มอส [C-MOS IC] วงจรรวมของระบบดิจิตอล จนกระทั่งในปี 2004  SEIKO ได้รับรางวัล ไมล์สโตน อวอร์ด [Milestone award] จาก ไออีอีอี [IEEE] องค์กรอิสระไม่หวังรายได้เพื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยี


3.ไซโก คีเนติด [Seiko Kinetic] ณ วันนี้คงจะไม่มีใครรู้จักชื่อนี้ กับคุณสมบัติเดีนของการสร้างพลังงานให้กับกลไกจากการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในช่วงต้นยุค 70s เมื่อ SEIKO นำทักษะและความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กโทรนิคมาผนวกกับการประดิษฐ์นาฬิกาจักรกลอย่างจริงจังขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์การรักษาความเที่ยงตรงของนาฬิกาอิเล็กโทรนิคด้วยพลังงานที่ไม่รู้จบของกลไกจักรกล จนได้มาเป็นระบบที่เราคุ้นหูกันว่า Kinetic ในวันนี้ ด้วยหลักการ การแปลงพลังงานเคลื่อนไหวให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเพิ่มศักยภาพความเที่ยงตรง ประสิทธิภาพการทำงานที่ยาวนาน และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และการทำงานด้วยฟังก์ชั่นที่หลากหลายอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 1983-1988 SEIKO ก็ได้ให้กำเนิดเทคโนโลยีใหม่  3อย่าง
***วงจรไอซี [IC]
***ศักย์ไฟฟ้า มัลติพลายเออร์ [Voltage Multiplier]
***โรเตอร์ใหม่อาศัยอำนาจแม่เหล็กดูด
ที่บรรจุอยู่ในเรือนเวลาของ SEIKO KINETIC ไม่น้อยไปกว่า 23 รุ่น



4.ไซโก สปริง ไดรฟ์ [Seiko Spring Drive] ปฎิวัติความเงียบในการประดิษฐ์นาฬิกาชั้นสูง หนึ่งในประดิษฐกรรมที่สะท้อนธรรมชาติจริงของเวลาได้อย่างยอดเยี่ยม ด้วยการเดินทางของเข็มนาฬิกาที่ไร้แรงกระตุก แต่เรียบและเงียบอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับการลื่นไหลของเวลาตามธรรมชาติ ผลงานชิ้นแรกประดิษฐ์ขึ้นโดย โยชิกาซู อะกาเฮน [Yoshikazu Akahane] ในช่วงปี 1973 ที่เขาให้ฉายาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ว่า นาฬิกานิรันดร์กาล  เพราะเป็นนาฬิกาที่ใช้เมนสปริงที่ปราศจากปัญหาเรื่องความทนทานและความเที่ยงตรง ต่างจากนาฬิกาจักรกลแบบเดิมอย่างสิ้นเชิง






ในปี 1999 SEIKO ทำการท้าทายโลกแห่งการเวลาด้วยการเปิดตัวนาฬิกาจักรกลรุ่น Spring Drive โดยภายในถูกแทนที่ด้วยอุปกรณ์ชิ้นใหม่ ที่สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งระบบจักรกล และระบบไฟฟ้า และพลังงานสนามแม่เหล็ก 
นั่นคือศิลปะการประดิษฐ์นาฬิกาที่หล่อหลอมกันได้อย่างลงตัวภายใต้ชื่อของ SEIKO



125 ปี BREITLING

จากปี 1884 สู่ คาลิเบอร์ B01 ในวันนี้ ไบรท์ลิง [breitling] ได้เฉลิมฉลองการครองมงกุฎแห่งนักประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องบอกเวลาคู่กลไกสมรรถนะสูงสำหรับมืออาชีบครบรอบ 125 ปีอย่างยิ่งใหญ่





และจากวันนั้นจนถึงวันนี้จากความหลงไหลในการประดิษฐ์เครื่องจับเวลาโครโนกราฟ ที่ Breitling ได้ถ่ายทอดสู่นาฬิกาเรือนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์โดยเฉพาะบทบาทของการพัฒนากลำกจักรกลและเทคโนโลยีตลอด 125 ปีที่ผ่านมา ในวันนี้ได้ถูกหล่อหลอมสู่ผลงาน คาลิเบอร์ บี01 [caliber 01] กลไก มอเตอร์ โครโนกราฟชุดแรกที่ผ่านการออกแบบและผลิตขึ้นใหม่ทั้งหมดภายในโรงงานของตนเอง การปฎิวัติอย่างเต็มรูปแบบบนฐานของความแข็งแกร่งของแบรนด์นี้ ทำให้เป็นอีกครั้งที่ Breitling สร้างบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานาฬิกาข้อมือจับเวลาโครโนกราฟ ชึ้นแท่นสู่การเป็นผู้นำท่ามกลางสิ่งประดิษฐ์สลับซับวซ้อนเหล่านี้ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและยังเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนให้ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสอิสระกลุ่มสุดท้ายนี้ยืนหยัดได้อย่างมั่นคง พร้อมกับรักษาอิสรภาพทางแนวความคิดและการประดิษฐ์ผลงานอันล้ำเลิศในแบบฉบับของตนเองสือต่อไป


1884 และต้นกำเนิด
ปฎิเสธไม่ได้ว่า Breitling ทุ่มเทความเชี่ยวชาญให้กับอุปกรณ์จับเวลาและนาฬิกาโครโนกราฟมานับตั้งแต่วินาทีของการเริ่มต้น และยังถ่ายทอดจากเชื้อเเถวต้นตระกูลของครอบครัวผู้ก่อตั้งแบรนด์สู่ผู้สืบทอดหลายรุ่น
     เมื่อเขาเปิดร้านแห่งแรก ณ เซนต์-ออเมียร์ [saint-imier]ในปี 1884 และเลือกใช้ความเชี่ยวชาญมาสร้างความพิเศษให้กับสิ่งประดิษฐ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ณ เวลานั้น นั่นคือนาฬิกาโครโนกราฟและนาฬิกาจับเวลา จนกระทั่งอุปกรณ์เหล่านี้ได้กลายเป็นอุปกรณ์วัดค่าเวลาที่มีประโยชน์สูงสุดต่อแวดวงกีฬา วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
     โดยในปี 1892 จากความสำเร็จที่นับวันจะทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ ของเขา Leon Breitling ได้ตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบห้องปฎิบัติการ สู่การเป็นโรงงานผลิตนาฬิกาอย่างแท้จริง และย้ายไปตั้งหลักปักฐานใน ลา โชซ์-เดอ-ฟงด์ส [La Chaux-de-Fonds] เมืองหลวงของการประดิษฐ์นาฬิกาของสวิสและของโลก โดยใช้ชื่อ L.Breitling Montbrillant WatchManufactory
     1915 และนวัตกรรมล้ำยุค หากยังจำกันได้ถึงชื่อเสียงของการจับเวลาได้อย่างแม่นยำของ Breitling แล้ว คงพอให้นึกถึงนวัตกรรมชิ้นสำคัญของแบรนด์ ได้แก่ การประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือโครโนกราฟเป็น
แบรนด์แรกและครั้งแรกของโลก ในปี 1915 และด้วยผลพวงจากการออกแบบอย่างดี เพื่อให้ใส่ได้อย่างสบายและเหมาะกับกายวิภาคของมนุษย์ โดยมี แกสตัน ไบรท์ลิง [gaston breitling] ผู้สืบทอดกิจการของบิดาร่วมผลักดันแนวความคิดอัจฉริยะอีกระดับหนึ่งให้กับแบรนด์ในเวลาเดียวกัน นั่นคือ การสร้างปุ่มกดแยกออกจากเม็ดมะยม เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของฟังก์ชั่นจับเวลาทั้ง 3 อัน ได้แก่ การเริ่ม การหยุด และปรับตั้งใหม่ไปที่ศูนย์ ทำให้ในปีเดียวกันนี้ นาฬิกาข้ามือบรรจะด้วยปุ่มกดควบคุมการจับเวลาถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก และในปี 1923 Breitling ก็ได้สร้างความสมบูรณ์แบบให้กับระบบจับเวลาโครโนกราฟมากชึ้น โดยควบคุมฟังก์ชั่น เริ่ม/หยุด ผ่านปุ่มกดข้างตัวเรือนที่ตำแหน่ง 2นาฬิกา แยกออกจาก
ฟังก์ชั่น ปรับใหม่ไปที่ศูนย์ ซึ่งกระตุ้นการใช้งานโดยเม็ดมะยม นวัตกรรมที่ผ่านการจดสิทธิบัตรชิ้นนี้ จึงสามารถจับเวลาต่อเนื่องจากการจับเวลาครั้งก่อนได้  โดยที่ไม่ต้องกลับไปเริ่มต้นที่ศูนย์ใหม่เหมือนเมื่อก่อน
     1931 กับการเหินฟ้าครั้งแรก ถือเป็นยุคสำคัญของการเปิดตัวเหินฟ้าไปกับเครื่องบินเป็นครั้งแรกในปี 1931 ด้วยผลงานนาฬิกาโครโกราฟรุ่นพิเศษสำหรับติดตั้งอยู่ภายในห้องควบคุมการบินของนักบิน อันเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการอ่านค่าเวลาและวัดช่วงเวลาการบินได้อย่างปลอดภัย รวมถึงทุกคุณสมบัติที่นักบินพึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นโครงนร้างตัวเรือนอันแข็งแกร็ง แต่น้ำหนักเบาเพราะทำจากอะลูมีเนียม กลไกภายในที่เที่ยงตรง และมาดเข้มๆของหน้าปัดสีดำ แต่งด้วยตัวเลขขนาดใหญ่เรืองแสงสีขาว
     เหตุการณ์สำคัญอีกอย่างที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Breitling ได้เข้าไปออกแบบระบบการทำงานของนาฬิกาโครโนกราฟบนเครื่องบิน ซึ่งได้ผ่านการจดสิทธิบัตร โดยเป็นการพัฒนาศักยภาพการใช้งานให้มีความแม่นยำเที่ยงตรงสูง ทนทานและกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ถูกเลือกใช้ภายในกองทัพติดอาวุธจำนวนมาก รวมถึงกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร [Royal Air Force] ที่ติดตั้งนาฬิกาเหล่านี้ให้กับเครื่องบินรบแบบใบพัดของกองทัพด้วย
     1942 เทคนิคใหม่ ในปีนี้เป็นปีที่ Breitling ขยายคอลเลกชั่น อุปกรณ์นาฬิกา ของตนเองด้วยการสร้างนาฬิกาพร้อมสเกลวงกลมปรับเลื่อนได้เรือนแรก ในชื่อโครโนแมต [Chronomat] พัฒนาขึ้นจากรุ่นที่ยื่นสิทธิบัตรไปแล้วก่อนหน้านี้ในปี 1940 ให้มีการคำนวณประมวลผลทางคณิตศาสตร์ทั้งฟังก์ชั่น ทาโคมิเตอร์ เทเลมิเตอร์ และพุลโซมิเตอร์ ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
     และในปี 1950-1960 เป็นช่วงที่ทาง Breitling ได้เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับธุรกิจการบินเป็นอย่างมาก
จากการที่เริ่มต้นบรรจุนาฬิกาในห้องนักบินเครื่องบินใบพัด และต่อมาก็ภายในเครื่องบินไอพ่นของหลายบริษัท และที่โด่งดังที่สุดก็คือการติดตั้งนาฬิกาภายในห้องนักบินของ เครื่องบินโบอิ้ง 707 [Boeing 707]
โบอิ้ง ดีซี-8 [Boeing DC 8] และ คาราเวลล์ [Caravelle] จนในที่สุดทุกคนก็ขนานนามว่า นาฬิกาแห่งโลกการบิน


1999 และโครโนมิเตอร์ การพัฒนายังคงเดินหน้า และนำทางสู่การเป็นสุดยอดเครื่องบอกเวลาคุณภาพ เมื่อ Breitling ตัดสินในนำนาฬิกาทุกรุ่นทุกคอลเลกชั่นของเขาทั้งหมดไปตรวจสอบมาตรฐานความเที่ยงตรง ทั้งกลไกจักรกลและกลไกควอตซ์ ของสถาบัน COSC [Controle Officiel  Suisse des Chronometres] ที่นับว่าเป็ฯมาตรฐานสูงสุดของการอ้างอิง ความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือได้ของความกลไก ทำให้ Breitling กลายเป็นนาฬิกาแบรนด์หลักของโลกที่สามารถนำเสนอกลไกผ่านการรับรองความเที่ยงตรงระดับโครโนมิเตอร์มาบรรจุอยู่ในนาฬิกาทุกรุ่นของแบรนด์ และต่อมาในปี 2001 Breitling ก็ไม่ยอมหยุดนิ่งจากการเปิดตัวกลไกที่ชื่อว่า ซูเปอร์ควอตซ์ทีเอ็ม [SuperQuartz TM] ชดเชยพลังงานความร้อน มาบรรจุอยู่ในนาฬิกาอีเล็กทรอนิกส์ทุกรุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติเความเที่ยงตรงมากกว่าควอตซ์ธรรมดาถึง 10 เท่า
     2009 มงกุฎมรดก 125 ปี ปีนี้เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปีของ Breitling จึงพลาดไม่ได้ที่จะนำเสนอผลงานชิ้นใหม่เพื่อเป็นการตอกย้ำความสำเร็จของแบรนด์ นั่นก็คือ Caliber B01 ความโดดเด่นของกลไกอยู่ที่การบรรจุคอลัมน์วีล ระบบตัวจักรกระตุ้นในแนวตั้งและการสำรองพลังงานได้นานเกินกว่า 70 ชั่วโมง ทำให้มั่นใจได้ว่ากลไกจะมีอัตราการทำงานที่คงที่และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยได้รับการ
ออกแบบให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด เมื่อนำไปใช้งานจริงนอกจากนี้ยังเสริมด้วยคุณสมบัติแห่งนวัตกรรมอีกหลายข้อ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประโยชน์ใช้สอยและความสะดวกสะบายของผู้ใช้เป็นหลัก


world watch

สวัสดีครับผมวันนี้ก็จะขอเริ่มกันแบบแจ่มๆ กันไปเลยนะครับจะขอพูดถึงเรื่องไกลตัวซักนิดนึงก็เรื่องนาฬิกานี่แหละครับ แต่เป็นในกล่มที่คนอย่างเราๆท่านๆ แทบจะไม่อยากซื้อ อยากได้ครับแต่ราคาค่าตัวของพวกมันนี่ไม่ค่อยเอื้อให้เราซื้อกันเสียเลยครับ นาฬิกาใครก็รู้ว่าเอาไว้ดูเวลา แต่ว่าวันนี้นาฬิกาบางกลุ่มบางยี่ห้อมันเป็นมากกว่านาฬิกาครับ มันกลายเป็นเครื่องประดับในการบอกฐานะของผู้สวมใส่ไปเสียแล้ว และนาฬิกาบางรุ่นของคุณผู้หญิงก็มีน้ำหนักกะรัตของเพรชแท้บนตัวเรือนนาฬิกามากกว่าเครื่องเพรชจริงๆ ของใครหลายๆคนเสียอีก ก็ด้วยเหตุนี้นาฬิกาบางรุ่นบางยี่ห้อ ค่าตัวของมันแพงกว่ารถญี่ปุ่นอย่างหรูๆ เลยก็มี และก็บางรุ่นที่เป็น Limited Edition นะครับ ค่าตัวของมันแพงกว่ารถสปอร์ตหรูบางค่ายอีกครับ ตกลงว่ามันจะเป็นนาฬิกาหรือว่าเป็นเครื่องเพรชกันแน่นี่ เอาละครับมาดูกันต่อในเรื่องของนาฬิกาจากรอบๆโลกกันเลยดีกว่า




CARL F. BUCHERER Patrivi Evo Tec Daydate เป็นนาฬิการุ่นแรกของแบรนด์ที่ติดตั้งด้วยกลไกอัตโนมัติชุดพิเศษ โดยเพิ่มโมดูลฟังก์ชั่นบอกวันและเวลาขนาดใหญ่บนกลไก
 CFB A1000 ผลิตขึ้นที่โรงงานของตนเองและก็พึ่งจะเผยโฉมไปเมื่อปีที่แล้วนี่เองครับ และก็ได้กลายมาเป็นกลไกใหม่ คาลิเบอร์ CFB A1000 ที่สำรองพลังงานได้นาน 55 ชั่วโมง อยู่ในตัวเรือนที่ดีไซน์อันโดดเด่นเป็นทรงสี่เหลี่ยมโค้งมน ขนาด 44.00x44.5mm.
ทำจากสเตนเลสสตีลหรือทองชมพู 18 K ขอบตัวเรือนประกอบยางคู่สีดำและก็สายหนังวัวแท้สีดำ ดูดีสุขุมและนุ่มลึกมาก หล่อแบบเรียบๆครับ

CORUM Ti-Bridge รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ผลิตออกมาเพียงแค่ 750 เรือนครับ ขับเคลื่อนด้วยกลไกไขลาน CO 007 ทำจากไทเทเนียม ทำงานด้วยความถี่ 28,800 ครั้งต่อชั่วโมง และสำรองพลังงานได้นาน 72 ชั่วโมง บรรจุอยุในตัวเรือนทรงตอนโน ทำจากไทเทเนียมน้ำหนักเบา ขนาด 42.5x41.5mm. เม็ดมะยมก็ทำจากไทเทเนียมเซาะร่อง แต่งยอดด้วยกุญแจ corum ปราศจากหน้าปัดเพราะตั้งใจให้เห็นกลไกการทำงาน และก็มีแค่เข็มชั่วโมงและนาทีเรืองแสงซูเปอร์ลูมิโนวา
BVLGARI Sotrio BVLGARI Tourbillon Quantieme Perpetuel รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ฉลองการครบรอบ 125 ปีของแบรนด์นี้  โดยภายในประกอบด้วยกลไกอัตโนมัติ calibre BVL 465 ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วน 465 ชิ้น พัฒนาขึ้นด้วยตนเอง เพื่อแสดงความโดดเด่นของการแสดงปฎิทนตลอดชีพ ผ่านรูปแบบการแสดงเวลาพิเศษด้วยเข็มชี้เรโทรเกรดบนหน้าปัดที่ออกแบบใหม่ ทั้งสองด้าน คือที่ 3 และ 9 นาฬิกา ควบคู่กับหน้าต่างทูร์บิญองที่ 6 นาฬิกา พร้อมเข็มชี้บอกวินาที รุ่นนี้ผลิตแค่ 30 เรือนแค่นั้นครับ ใครอยากได้ก็รีบๆหน่อยก็แล้วกัน เรื่องราคาให้นึกเอาเองก็แล้วกัน
CONCORD C1 Quantum Gravity รุ่นนี้มองทีแรกไม่นึกว่ามันคือนาฬิกาเลยครับนึกว่าเครื่องจักรกลอะไรซักอย่าง แต่นี่คือนาฬิกาแบรนด์ดังอย่าง CONCORD เขาล่ะ มาพร้อมระบบจักรกลทูร์บิญอง 2 แกน ประกบคู่กับหน้าต่างปิดสเกเลตัน 3 มิติ และกรงทูร์บิญองที่ติดตั้งอยู่ด้านนอกกลไกและตัวเรือนอีกครั้ง แบบว่าทำให้มันดูยากและสับสนน่ะครับ ส่วนพิ้นหน้าปัดติดตั้งด้วยกระจกในเผยให้เห็นโครงสร้างอันน่ามหัศจรรย์ของกลไกไขลานของ CONCORD C104 สำรองพลังงานได้นาน72 ชั่วโมง ประกอบด้วยสายพานจักรลักษณะและคุณสมบัติคล้ายกับสายเคเบิล ติดตั้งกับแท่นเครื่องและทำหน้าที่ยึดกรงทูร์บิญองให้อยู่ในแนวตั้งฉาก ทั้งหมดนี้บรรจุอยูในตัวเรือนไทเทเนียมขนาด 47.5 mm.
DE WITT Repetition Minutes tourbillon GMT Antipode เรือนเวลา 2 หน้าปัดนวัตกรรมทางด้านเทคนิคแห่งศตวรรษที่ 21 ควบคู่กับกลไกแบบมัลติคอมพลิเคชั่น 3 ระบบ ได้แก่ ทูร์บิญองระบบตีระฆังบอกเวลานาที และระบบบอกเวลา GMT โดยหน้าปัดด้านหน้าบรรจุทูร์บิญองคู่กับการแสดงชั่วโมง นาที ของเวลาท้องถิ่น และระบบตีระฆังบอกนาที ในขณะที่หน้าปัดอีกด้านหนึ่งแสดงเวลา GMT ด้วยเข็มชี้ชั่วโมงและนาทีของเวลาไทม์โซนที่ 2 ในตัวเรือนที่สุดล้ำสมัย ทำจากไทเทเนียมและทองคำขาว
HARRY WINSTON Opus 9 รุ่นนี้เป็นผลงานจากการระดมสมองของช่างนาฬิกาอย่าง Jean Marc Wiederrecht และนักออกแบบนาฬิกา Eric Grioud สู่เรือนเวลาที่มีความโดดเด่น ทั้งทางด้านเทคนิคและการแสดงเวลา และรูปลักษณ์ดีไซน์ โดยนำเอากลไกอัตโนมัติด้วยระบบโซ่มาใช้ในการขับเคลื่อนการแสดงเวลาชั่วโมงและนาที ในแบบเส้นแนวตั้ง ประดับไปด้วยเพรชทรงบาแก็ตต์ 66 เม็ดและก็โกเมนอีก 6 เม็ด บนหน้าปัดทรงสี่เหลี่ยม พื้นสีดำ ตัวเรือนทำจากทองคำขาว ขนาด 56.0x48.0mm. สำรองพลังงานได้นาน 72 ชั่วโมง มีจำนวนจำกัดแค่ 100 เรือนครับ เอาอีกแล้วครับ limited อีกแล้ว ใครที่เคยรู้ถึงประวัติของ harry winston มาบ้างก็คงพอจะรู้นะครับว่าเขามีชื่อเสียงมาจากเครื่องประดับเพรช ที่ดารา และซูเปอร์สตาร์ผู้มั่งคั่งทั้งหลายต้องมีไว้ในครอบครอง ด้วยราคาที่แสนแพงถูกใจบุคคลเหล่านี้เป็นยิ่งนัก พอหันมาทำนาฬิกาก็ใช้ทองคำขาวมาทำตัวเรือน และก็ใส่เพรชมาซะเพียบ และเป็นรุ่นที่ทำออกมาแค่ 100 เรือน ราคานั้นก็คงไม่ต้องพูดถึงหรอกครับ ก็รุ่นธรรมดาที่ขายอยู่ปรกติมันก็เลข 6 หลักขึ้นไปซะส่วนใหญ่แล้วครับ

Wednesday, November 18, 2009

SEIKO WATCH


Model Number : SNDA59P1


Price : 28,230 BHT

Features :

• จับเวลาได้ละเอียด 1/20 วินาที นาน 12 ชั่วโมง

• Lumibrite บนตำแหน่งบอกเวลาและเข็ม

• ขอบหน้าปัดหมุนได้
Model Number : SXDA67












Price : 17,460 BHT

Features :

• นาฬิกาสำหรับสุภาพสตรี

• ดีไซน์ขอบหน้าปัดล้อกับพังงาเรือ

• เข็มบอกเวลา 3 เข็ม(ชั่วโมง นาที วินาที)

• ช่องแสดงวันที่บนตำแหน่ง 3 นาฬิกา

• กระจกแซฟไฟร์กันรอยขีดข่วน

• ตัวเรือนและสายสเตนเลสสตีล

• กันน้ำลึก 100 เมตร


• กระจกแซฟไฟร์กันรอยขีดข่วน

• เม็ดมะยม ฝาหลังและปุ่มกดเกลียว

• ตัวเรือนสเตนเลสสตีล

• กันน้ำลึก 200 เมตร









Model Number : SNDA63P1


Price : 24,380 BHT

Features :

• จับเวลาได้ละเอียด 1/20 วินาที นาน 12 ชั่วโมง

• Lumibrite บนตำแหน่งบอกเวลาและเข็ม

• ขอบหน้าปัดหมุนได้

• กระจกแซฟไฟร์กันรอยขีดข่วน

• เม็ดมะยม ฝาหลังและปุ่มกดเกลียว

• ตัวเรือนสเตนเลสสตีลและสายยาง

• กันน้ำลึก 200 เมตร










Model Number : SNDZ38P1


Price : 35,780 BHT

Features :

• ตัวเรือนออกแบบล้อกับพังงาสำหรับขับเรือใบ

• จับเวลาได้ละเอียด 1/20 วินาที นาน 12 ชั่วโมง

• ประดับเพชร 53 เม็ด รอบขอบหน้าปัดและตำแหน่งบอกเวลา

• หน้าปัดมุกเน้นความเด่นชัด

• กระจกแซฟไฟร์กันรอยขีดข่วน

• ตัวเรือนและสายสเตนเลสสตีล

• ฝาหลังเกลียว

• กันน้ำลึก 100 เมตร

Wednesday, November 11, 2009

สวัสดีครับ

ครับผมก่อนอื่นเลยก็ต้องขอสวัสดีกันทั่วหน้าครับนี่ก็เป็นครั้งแรกที่เราได้มีโอกาสแวะเวียนมาเจอกันครับ ในblogนี้ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเราจะมาพูดถึงเรื่องของนาฬิกาครับแต่ว่าจะเป็นนาฬิกาที่ไม่ค่อยจะธรรมดาซักเท่าไหร่ ก็เพราะว่ามันไม่ค่อยจะธรรมดานี่แหละครับ จึงทำให้เราต้องมาพูดถึงมันหน่อย ครับก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่านาฬิกาส่วนใหญ่แล้วเขาก็เอาไว้ดูเวลากันครับถูกต้องแล้วครับ นาฬิกามันก็ต้องเอาไว้แค่ดูเวลาทั้งนั้นแหละครับ และนอกจากที่จะดูนาฬิกาเพื่อที่จะดูแค่เวลาแล้วนี่ นาฬิกานี่มันมีอะไรน่าสนใจกว่านั้นอีกไหม ทำไมนาฬิกาบางเรือนราคาแค่ไม่กี่ร้อยก็สามารถดูเวลาได้แล้ว แต่ทำไมบางยี่ห้อบางเรือน ราคาของมันถึงได้สูงขนาดสุดเอื้อม อันนี้ไม่ได้พูดดูถูกใครนะครับ แต่เชื่อผมเหอะครับว่านาฬิกาบางรุ่นบางเรือน คนหลายๆ ล้านคน ทำงานทั้งชาติก็ยังไม่ได้เลย แต่มันก็แปลกอยู่นะครับว่าราคาแพงขนาดนั้นมันก็ยังมีคนซื้อ และคนที่ซื้อนาฬิกาแพงๆ นี่ คุณจะเชื่อหรือเปล่าครับว่าส่วนใหญ่แล้วเขาจะไม่ได้ซื้อแค่เรือนเดียวครับ ส่วนใหญ่เขาจะซื้อเพื่อเป็นการสะสม เออช่างมีความสุขซะเหลือเกินนะ คนบางคนทำงานจนตายก็ไม่มีทางได้ซื้อ แต่อีกคนซื้อเอ้าซื้อเอายังกะขนมงั้นแหละ และมันก็เป็นจริงตามนั้นครับ จริงๆแล้วของทุกอย่างในโลกนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้นแหละครับ คือว่ามีตั้งแต่ราคาต่ำสุดไปจนถึงราคาที่แตะไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น อาหาร การที่จะกินอาหารแค่ให้อิ่มหนึ่งมื้อคนบางคนใช้เงินแค่ 50บาทก็สามารถอิ่มได้ แต่ในขณะเดียวกันคนอีกคนหนึ่งก็ยอมที่จะจ่ายเป็นหมื่นเพื่อที่จะได้ลิ้มลองอาหารชั้นเลิศบนบรรยากาศชั้นเยี่ยม แต่พออิ่มแล้วอีกไม่เกิน6ชั่วโมง ท้องมันก็เริ่มที่จะหิวอีกแล้วละ อาหารจถูกจะแพงอิ่มหนึ่งก็คืออิ่มหนึ่ง เอาละเริ่มที่จะงงกันแล้วหรือยังเอาเป็นว่าทักทายกันคร่าวๆ แค่นี้กันก่อนก็แล้วกันเดี๋ยวเรามาดูเรื่องนาฬิกาที่เราไม่ค่อยได้เห็นกันซักเท่าไหร แต่ถ้าบังเอิญว่าใครที่อ่านบทความนี้อยู่แล้วบอกว่าเห็นอยู่ทุกวันมีอยู่ตั้งหลายเรือน ข้ากระผมก็ต้องขอโทษด้วยนะครับ